ออกกำลัง 30 นาทีอาจลดอาการซึมเศร้าได้

จากการวิจัยพบว่าการออกกกำลังกาย 30 นาที อาจลดอาการซึมเศร้าได้นานถึง 75 นาทีหลังออกกำลังกาย ซึ่งการวิจัยนี้สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายภาพและสุขภาพจิต

 

ผลการจิวัยทีมนำโดยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอโอวาได้คัดเลือกบุคคล 30 คน ที่มีอาการซึมเศร้าขั้นรุนแรง แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มแรกให้เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานในระดับปานกลางถึงไปจนถึงระดับสูง และอีกกลุ่มให้นั่งครึ่งชั่วโมง ผู้เข้าร่วมการวิจัยถูกขอให้กรอกแบบสำรวจอิเล็กทรอนิกส์เพื่อวัดผลอาการซึมเศร้าทั้งก่อนและหลังออกกำลัง 

 

“งานวิจัยมากมายที่เกี่ยวกับผลกระทบของการออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพจิตทั่วไป โดยเน้นไปที่การวัดที่เป็นวงกว้าง แต่งานวิจัยฉบับนี้จะเน้นไปที่ การออกกำลังกายแบบเฉียบพลัน หรือการออกกำลังกายหนึ่งครั้งต่อหนึ่งวัน มีอิทธิพลต่ออาการซึมเศร้าได้อย่างไร” Jacob Meyer ผู้นำวิจัยและศาสตราจารย์ด้านกายภาพวิทยาที่ ISU ได้กล่าว

 

คำถามในแบบสำรวจได้รับการออกแบบมาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมในอาการซึมเศร้าทั้งหมด 3 ประเภท

  1. อารมณ์หดหู่
  2. ภาวะสิ้นยินดี (anhedonia) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกเฉยชาต่อสิ่งรอบตัว หรือไม่มีความสุขจากกิจกรรมที่เคยชอบ
  3. ฟังก์ชั่นการรับรู้ลดลง (decreased cognitive function) เป็นอาการที่มีปัญหาในการประมวลผลหลายอย่างพร้อมกัน หรืออาการผิดปกติของสมอง

 

ผู้เข้าร่วมการทดลองกลุ่มที่ปั่นจักรยานแสดงให้เห็นว่าอาการหดหู่ของพวกเขาดีขึ้นตลอดช่วงเวลาที่ออกกำลังกายจนถึงหลังออกำลังกาย 75 นาที และผู้ที่มีอาการภาวะสิ้นยินดี จะเห็นว่าการบรรเทาทุกข์เริ่มลดลงหลังจาก 75 นาที แต่ยังดีกว่าผู้เข้าร่วมที่นั่งระหว่างการทำทดลอง

 

“สิ่งที่ยอดเยี่ยมสุดคือ การทดลองนี้มีผลต่อภาวะอารมณ์หดหู่และภาวะสิ้นยินดี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าผลลัพธ์การทดลองนี้จะสามารถอยู่ได้นานมากกว่า 75 นาที พวกเราต้องทำการศึกษานานมากขึ้น เพื่อจะสามารถตัดสินใจได้ว่าเมื่อใดที่อาการจะเริ่มเสื่อมลงหลังออกกำลังกาย แต่ผลลัพธ์ที่ได้ ชี้ให้เห็นถึงกรอบระยะเวลาหลังออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีอาการซึมเศร้า” Meyer กล่าว

 

นอกจากนั้นทีมของ Meyer ก็ได้นำร่องทำการศึกษากับผู้เข้าร่วมทดลองอีกกลุ่ม สำหรับการวิจัยเพื่อดูว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะผสมผสานประโยชน์เชิงบวกของการออกกำลังกายและการบำบัด

 

ผู้เข้าร่วม 5 คนจาก 10 คน ในการเข้าร่วมการศึกษานี้เดินด้วยความเร็วปานกลางถึงมาก ทีมวิจัยได้ติดตามผู้เข้าร่วมในระยะเวลา 30 นาทีก่อนเริ่มการรักษา และหลังการรักษาอีก 30 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง ในขณะที่ผู้เข้าร่วมอีก 5 คนยังคงทำกิจกรรมเดิมตามปกติตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์

 

ในช่วงท้ายของการศึกษาระยะสั้นนี้ ทั้งสองกลุ่มมีการพัฒนาที่ดีขึ้น แม้ว่านักวิจัยจะพบว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายก่อนเข้ารับการบำบัด นักวิจัยยังพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักบำบัดอีกด้วย

 

“โดยรวมแล้ว การศึกษานำร่องแสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความสนใจแนวทางที่จะผสมผสานกับการออกกำลังกาย และการออกกำลังกายนั้นมีผลบางอย่างต่อภาวะซึมเศร้าได้” Meyer กล่าวสรุป

 

อ้างอิง

Press ESC to close